Wrought Iron มาทำความรู้จักกันเถอะ
เป็นเหล็กประเภท Low Carbon คุณสมบัติดีเด่นที่ความเหนียว และคงทนถาวรด้วย ในขณะเดียวกัน ยังสามารถดัดโค้งให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ให้ละเอียดอ่อนเท่าใดก็ได้ตามแบบที่ต้องการ ชาวยุโรปจึงนิยมนำเหล็ก นี้มาใช้ เป็น ประตู รั้ว ราวบันได สะพาน ระเบียง เครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรม และ เฟอร์นิเจอร์
เหล็ก Wrought Iron นี้ แตกต่างจากงานเหล็กหล่อ (Cast Iron) ตรงที่กรรมวิธีการผลิต เป็นกรรมวิธีหนึ่งในการผลิตเหล็กเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ในงานสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน ทำรั้ว ประตู หน้าต่าง ราวบันได โคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ ต่าง ๆ และอุปกรณ์ใช้งานในบ้านอื่น ๆ เช่น พวกที่แขวนเสื้อโค้ด ที่ใส่ร่ม ตะกร้าใส่ของ เป็นต้น ส่วนงานเหล็กหล่อ เป็นการแกะพิมพ์ เมื่อเสร็จแล้วเทเหล็กที่หลอมด้วยความสูงเป็นของเหลว แล้วเทใส่พิมพ์ที่แกะไว้ ดังนั้น โอกาสชิ้นงานนั้นจะเกิดฟองอากาศมาก เมื่อเนื้อเหล็กที่หลอมเป็นของเหลว (รวมถึงงานประเภทหล่ออื่น ๆ) ไปไม่ถึงบริเวณที่แกะพิมพ์อื่น ๆ แต่งานของ WroughtIron เป็นงานประเภทเหล็กเผาเหล็กให้ร้อน และตีให้เกิดรูปร่างเหมือนการตีดาบของมีดอรัญญิก
ในขั้นตอนการประกอบชิ้นงานนั้น ช่างจะมีเทคนิคเฉพาะซ่อนบรรดารอยต่อต่าง ๆ จึงนำสายรัด (Collar) หรีอทำรูเดือยใส่สกรู เป็นต้น ในขั้นตอนการทำสีนั้น สีที่นิยมทำกันมากคือ สีดำเทา สีเงิน และทำแบบสีเหลือบสี ทำให้เนื้อเหล็กมีผิวสัมผัสในลักษณะแบบเดียวกับบรอนซ์รมดำ หรือ บรอนซ์กัดกรด ด้วยใช้สีปัดไปบนเนื้อเหล็ก ก่อนจะลงมือทำสี จะมีกรรมวิธีป้องกันสนิมก่อน
ในกรณีติดตั้ง Wrought Iron เสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับสนิมบ้าง แต่การเกิดสนิมของ Wrought Ironนั้นจะเป็นบนผิวของเหล็ก กรรมวิธีบำรุงรักษาคือ แค่นำกระดาษทรายหรือแปรงขัดให้ถึงเนื้อเหล็ก แล้วใช้ปากกาเมจิก หรือสีทาซ้ำลงไป เพื่อไม่ให้เกิดการอ็อกซิเดชั้นระหว่างเหล็กกับอากาศ เนื่องจากอาจจะกล่าวได้เลยว่า สนิมไม่กินเข้าไปในเนื้อเหล็ก (ซึ่งความจริง การสึกกร่อนจะน้อยมาก เป็นไมครอน)