New NormaL

New Normal คืออะไร? COVID-19 สู่ชีวิตปกติวิถีใหม่

เปิดนิยามคำว่า “New Normal” ที่เกิดขึ้นในยุค “COVID-19” ที่ผลักให้ผู้คนทั่วโลกเข้าสู่ “ความปกติรูปแบบใหม่” ในทุกๆ ด้าน ทั้งไลฟ์สไตล์ ธุรกิจ สาธารณสุข การศึกษา โดยเฉพาะมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 2 ของไทยทำให้เห็นรูปแบบ “นิวนอร์มอล” ชัดเจนขึ้น

อะไรๆ ก็ “นิวนอร์มอล” ไม่ว่าจะหันไปทางไหนคนไทยเริ่มจะได้ยินคำนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการแถลงข่าวยอดผู้ติดเชื้อโรคระบาด “COVID-19” รายวันของทาง ศบค. หรือตามโฆษณาสินค้าและบริการทั่วไป ต่างก็งัดคำนี้มาใช้กันอย่างมากมายหลากหลายบริบท ว่าแต่.. คำว่า “นิวนอร์มอล” จริงๆ แล้วมันหมายถึงอะไรกันแน่? มีต้นกำเนิดมาจากไหน? วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักนิยามของคำนี้ให้มากขึ้น

1. “New Normal” คืออะไร?     

เมื่อไม่นานมานี้ ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ “นิวนอร์มอล” เพิ่มเข้ามา โดย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ได้อธิบายคำนี้ผ่านทางเฟซบุ๊ก Malee Boonsiripunth เอาไว้ว่า นิวนอร์มอล แปลว่า ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะธำรงรักษาวิถีดั้งเดิมหรือหวนหาถึงอดีต

นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า “นิวนอร์มอล” ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ โดยคำนี้กำเนิดขึ้นในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2007–2008) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ การจัดการบางอย่างซึ่งแต่เดิมเคยถูกมองว่าผิดปกติ ได้กลับกลายมาเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ทั่วไป และถูกนำมาใช้ในปริบทอื่นๆ อย่างเช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสื่อสารและทำความเข้าใจถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นและความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

ส่วน “นิวนอร์มอล” ในบริบทสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ช่วงปลาย พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2563 นั้น อธิบายได้ว่า เป็นสถานกาณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนแพร่กระจายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผู้คนเจ็บป่วยและล้มตายจำนวนมาก จนกลายเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงอีกครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ มนุษย์จึงจำเป็นต้องป้องกันตนเองเพื่อให้มีชีวิตรอดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ผิดไปจากวิถีเดิมๆ

โดยมีการปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ควบคู่ไปกับความพยายามรักษาและฟื้นฟูศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ มีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรมที่เคยทำมาเป็นกิจวัตร เกิดการบ่ายเบนออกจากความคุ้นเคยอันเป็นปกติมาแต่เดิมในหลายมิติ ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งสิ่งใหม่เหล่านี้ได้กลายเป็นความปกติใหม่ จนในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป ก็ทำให้เกิดความคุ้นชินก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติของผู้คนในสังคม

 

2. New Normal เริ่มมีครั้งแรกเมื่อไร?

มีข้อมูลจากนิตยสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนพฤษภาคม 2015 (โดย เขมรัฐ ทรงอยู่) ระบุว่า “นิวนอร์มอล” หรือ “ความปกติในรูปแบบใหม่” เป็นคำศัพท์ที่ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2008 โดย Bill Gross นักลงทุนในตราสารหนี้ชื่อดัง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Pacific Investment Management (PIMCO) โดยให้นิยาม “นิวนอร์มอล” ในบริบทเศรษฐกิจโลกเอาไว้ว่า เป็นสภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงจากในอดีต และเข้าสู่อัตราการเติบโตเฉลี่ยระดับใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม ควบคู่ไปกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเกิดวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ

อีกทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจจะไม่ได้เป็นไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจเดิมแบบที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดการเติบโตทางเศรษฐกิจมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในลักษณะที่แตกต่างจากในอดีต

แนวคิดเรื่อง “นิวนอร์มอลl” ของ Bill Gross ในช่วงแรกไม่ได้รับความสนใจ และยังถูกปฏิเสธโดยนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า การชะลอตัวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการถดถอย (recession) ตามวัฏจักรเศรษฐกิจเดิมเท่านั้น และในไม่ช้าเศรษฐกิจและการจ้างงานก็จะกลับมาเติบโตได้ที่ค่าเฉลี่ยดังเดิม แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งที่ Bill Gross ได้พูดไว้ตั้งแต่ปี 2008 นั้นมีส่วนที่ถูกอยู่ไม่น้อย

3. “New Normal” ด้านสาธารณสุขไทย

สำหรับ “นิวนอร์มอล” ในบริบท “COVID-19” นั้น เห็นได้ชัดเจนที่สุดในด้านของการสาธารณสุขของเมืองไทย โดยทาง ศบค. มีการประกาศมาตรการการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 ที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ได้แก่

– สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเสมอ

– ต้องเว้นระยะห่าง 2 เมตร 

– ล้างมือบ่อยๆ พกเจลแอลกอฮอล์

– หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด

– หลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่มีอาการป่วย

4. “New Normal” ด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ

ถัดมาคือ “นิวนอร์มอล” ในบริบทของการทำธุรกิจ ค้าขาย รวมถึงภาพใหญ่ในระบบเศรษฐกิจของไทย พบว่าผู้คนยุคโควิด-19 จำเป็นต้องอยู่บ้านมากขึ้น เกิดเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่คือ Work from Home ส่วนนักเรียนก็ต้องปรับตัวสู่การเรียนที่บ้านผ่านการ “เรียนออนไลน์” การจับจ่ายซื้อของต่างๆ ก็ต้องซื้อออนไลน์กันมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจหรือการค้าขายในความปกติรูปแบบใหม่จึงหนีไม่พ้นการทำธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจขายสินค้าและจัดส่งแบบ “เดลิเวอรี่” ที่พบว่าเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงนี้ ส่วนร้านอาหารก็ต้องปรับตัวสู่ “นิวนอร์มอล” เช่นกัน มีทั้งขายแบบเดลิเวอรี่ หรือบางร้านที่เปิดให้รับประทานที่ร้านได้แล้ว ก็ต้องมีการกั้นฉากให้ลูกค้าแต่ละคน ไม่ให้ลูกค้าใกล้ชิดหรือแออัดกัน และเว้นระยะห่างของการนั่งระหว่างโต๊ะอาหาร เป็นต้น 

5. “New Normal” ด้านไลฟ์สไตล์ ดูหนัง มหรสพ

อีกหนึ่งด้านในมิติการใช้ชีวิตประจำวันที่เราต้องปรับตัวสู่ “นิวนอร์มอล” นั่นก็คือ ไลฟ์สไตล์และความบันเมิงต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่มีการล็อคดาวน์ และประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้ต้องงด “ดูหนัง” ในโรงหนัง งดการจัดคอนเสิร์ต และงดจัดแสดงมหรสพต่างๆ ที่เป็นการรวมตัวของฝูงชนจำนวนมาก 

ล่าสุด.. เมื่อมีมาตรการ “ผ่อนคลายระยะที่ 3” ทำให้โรงภาพยนตร์สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้แล้ว รวมถึงอนุญาตให้เปิดโรงละคร โรงมหรสพ โรงลิเกและลำตัดได้ (แต่ยังงดการจัดคอนเสิร์ตต่อไป) โดยต้องมีขั้นตอนในการควบคุมและป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารสุขอย่างสเคร่งครัด ซึ่งทางผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์บางเจ้าก็ได้ออกมาตรการและคู่มือการปฏิบัติตัวในโรงหนังตามแนวทาง “นิวนอร์มอล” มาให้ทราบกันแล้ว ดังนี้

– Screening: ตรวจคัดกรองลูกค้าทุกคน วัดอุณหภูมิ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอลล์

– Social Distancing: เข้าแถวรอคิว เว้นระยะห่าง 1 เมตร และเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง ทุก 2 ที่นั่งในแถวเดียวกัน และแถวเว้นแถว

– Cleaning: ทำความสะอาดทุกจุดพื้นที่และภายในโรงภาพยนตร์ก่อนเข้าฉายแต่ละเรื่อง “ทุกรอบ”

– Cashless: ให้ลูกค้าใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด  (E-Payment) ทั้งการซื้อตั๋วหนัง ป๊อปคอร์นและน้ำ

– Tracking: ติดตามและตรวจสอบ ทุกโรงจะมีการเช็คอิน-เช็คเอาท์ เพื่อสะดวกในการติดตามกรณีพบผู้ป่วย

 

6. “New Normal” ด้านการศึกษา

มาถึงด้านการศึกษาไทยกันบ้าง พบว่าเด็กๆ ในยุคโควิด-19 ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนใหม่สะท้อน “นิวนอร์มอล” ที่ไม่ค่อยจะสะดวกทั้งกับผู้ปกครองและกับตัวเด็กเอง นั่นคือ “เรียนออนไลน์” ผ่านทางช่องทีวีดาวเทียม DLTV และเรียนผ่านแอพฯ เว็บไซต์ และช่อง youtube ของ DLTV ได้เช่นกัน แต่ปรากฏว่าเด็กๆ ประสบปัญหาการเรียนออนไลน์มากมายหลายอย่าง เช่น การจูนหาสัญญาณช่องไม่เจอ การโหลดแอปฯ ไม่ได้ หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อป มือถือ แท็ปเล็ต และการติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น

 

7. “New Normal” ด้านการท่องเที่ยวไทย

ส่วนในด้านการท่องเที่ยวก็พบว่าผู้ให้บริการต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวเอง ก็เริ่มปรับตัวสู่ “นิวนอร์มอล” สอดรับกับยุคโควิด-19 มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงแรกที่ประเทศไทยพบการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง จนทางการประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์ และประกาศ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ทำให้เราต้องงดออกนอกบ้าน และงดเที่ยวไปโดยปริยาย แต่ช่วงนั้นก็เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้คนหายเหงา ด้วยการเปิดตัว “การท่องเที่ยวเสมือนจริง” ผ่านเทคโนโลยี

ต่อมาพอถึงช่วงมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 2 ก็เริ่มประกาศให้ “ที่เที่ยว” บางแห่งกลับมาเปิดให้คนไทยไปเที่ยวได้แล้ว เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, อุทยานประวัติศาสตร์, หอสมุดแห่งชาติ, หอจดหมายเหตุ แต่ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือ, เว้นระยะห่าง เป็นต้น

เครดิต : bangkokbiznews

 


ในส่วนของ SAC (แซค) เองก็เกิด “นิวนอร์มอล” เช่นกัน แซคจึงเปลี่ยนการซื้อสินค้าให้สะดวกยิงขึ้น ผ่านทาง Line Chat พลักดัน และให้ความสะดวกสบายกับลุกค้ามากขึ้น โดยที่ลุกค้า อยู่ที่บ้านก็สามารถสั่งสินค้าของเราได้ นั่นเอง แม้กระทั้งปรึกษาออกแบบ สั่งผลิต ได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านก็ได้ เพราะเรามีบริการ Sevice หรือให้บริการแก่ลุกค้าถึงบ้าน กันเลยทีเดียว


สับตะไคร้


โรงงานผลิต จำหน่าย ประตูม้วนทุกระบบ ด้วยประสบการณ์ความชำนาญนานกว่า 20 ปี แผ่นหลังคารีดลอน เหล็กรูปพรรณ สแตนเลส วัสดุงานโครงสร้าง และอื่น ๆ

#SAC #แซค #ประตูม้วน #สแตนเลส #เหล็กรูปพรรณ #อะไหล่อิตาลี #ราคาประตูม้วน #ประตูเหล็กม้วน #ประตูม้วนไฟฟ้า #เหล็ก #Logistic

SAC มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพพร้อมช่วยให้ธุรกิจก่อสร้างเดินหน้าอย่างคุ้มทุนที่สุด SAC จะช่วยให้งานของคุณไม่สะดุดเดินหน้าต่อเนื่อง และคงคุณภาพมาตรฐาน

แบ่งปันสิ่งนี้
0Shares
Posted in ไม่มีหมวดหมู่.

ใส่ความเห็น