ประตูม้วน

ประตูม้วน กับงาน ซ่อมแซมเฉพาะจุด

ประตูม้วน กับงาน ซ่อมประตูม้วน เฉพาะจุด ปัญหาการใช้งานประตูม้วนที่พบบ่อย หลังการใช้งานที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือเสื่อมสภาพตามกาลเวลา

หลังการติดตั้งประตูม้วนทุกระบบ ลูกค้าหลายท่านอาจจะพบปัญหาในการใช้งานต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน บางก็เกิดจากการงานที่ไม่ถูกวิธี หรือเสียหายจากการใช้งานที่ไม่คลาดคิด เช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับประตู บทความนี้อาจจะช่วยท่านในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้ โดยแบ่งออกเป็น ประตูม้วน แต่ละ ระบบ ทางเราจึงหยิบยก บางปัญหา มารีวิวที่พบเจอปัญหา กับงาน ซ่อมประตูม้วน เฉพาะจุด

1. ประตูม้วนระบบเพลาสปริง ประตูม้วนหนัก ดึงลงมายากมาก ปิด-เปิด ยาก บางทีต้องช่วยกัน 2-3 คน เพื่อปิด-เปิดประตู
คำตอบ  สาเหตุหลักเลยคือ สปริงประตูเสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งานแล้ว  จึงนำมาซึ่งการซ่อมแซมเฉพาะจุด  วิธีแก้ไขเบื้องต้น ให้ช่างผู้เชี่ยวชาญ มาตั้งสปริงใหม่ หรือกรณีอายุการใช้งานที่มาก แนะนำให้ เปลี่ยนเพลาสปริงประตูม้วน

2. ประตูม้วนเลื่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ตรงดี ทำให้เปิดปิดลำบาก กรณีนี้เกิดขึ้นได้กับประตูม้วนทุกระบบ

คำตอบ  สาเหตุอาจจะมาจากหูอาร์คปลายใบที่ติดไว้หลุดออก ทำให้บานประตูม้วนไม่ล็อคอยู่รวมกันทั้งผืน และเอียงเทไปข้างใดข้างหนึ่ง และทำให้ขูดกับขอบรางประตูม้วน

หรือ อีกสาเหตุ เกิดจากการใช้งาน เช่น ปิด-เปิดประตูม้วน โดยการดึงข้างใดข้างหนึ่ง เป็นประจำ ทำให้เกิดเนื้อใบเอียง หูอาร์คหลุดได้เช่นกัน แนะนำให้ ปิด-เปิด ประตูม้วน อยู่ระหว่างกลางประตู

วิธีแก้เฉพาะจุด จัดเรียงเนื้อใบใหม่ บิดหูอาร์คกลับเข้าที่เดิม หรือ กรณีหูอาร์คฉีกขาด อาจจะต้องเปลี่ยนเนื้อใบพร้อมหูอาร์คใหม่

3. ประตูม้วนเป็นสนิม โดยเฉพาะที่ฉากล่างและใบล่างสุดนั้นเริ่มเป็นสนิมก่อนจุดอื่นๆ

คำตอบ  เนื่องจากตัวฉากที่อยู่ล่างสุดและตัวสุดท้ายนั้นอยู่ต่ำสุด เมื่อเวลาที่มีฝนตก หรือมีน้ำสาดโดน อุปกรณ์ส่วนนี้จึงโดนน้ำค้างอยู่นานที่สุด ทำให้เป็นสนิมก่อนอุปกรณ์อื่นๆ  แนะนำให้เปลี่ยนเฉพาะจุดที่เกิดสนิม เนื้อใบชุดล่าง หรือฉากล่าง หรืออีกชื่อเรียก ฉากหน้ากุญแจ

4. เกิดจากการใช้งานที่ผิดวิธี เช่น ปิด-เปิด ที่รุนแรง เกินไป ทำให้อายุการใช้งานประตูม้วนสั้นลง
คำตอบ  กรณีนี้ความเสียหายประเมินไม่ได้ ต้องให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบจุดที่เสียหาย และประเมินอาการหน้างานเบื้องต้น และทำการแก้ไขปัญหา ซ่อมประตูม้วน เฉพาะจุดต่อไป

5.ประตูม้วนระบบไฟฟ้า กดไม่ขึ้น-ไม่ลง

คำตอบ
สาเหตุของปัญหานี้ค่อนข้างกว้าง แต่อาจจะมีสาเหตุบางประการที่ลูกค้าอาจจะลืมไป ดังนี้ หากมีรีโมท อาจจะเป็นไปได้ว่าลูกค้ากดโดนปุ่ม off ที่ตัวลูกรีโมท ซึ่งจะส่งผลให้ปุ่มกดที่ผนัง ทั้งขึ้นและลงนั้นไม่ทำงานเลย รวมทั้งตัวลูกรีโมทด้วย ต้องกดปุ่ม on ที่ตัวลูกรีโมทย้ำสัก 2-3ครั้ง ใกล้ๆประตู แล้วทดลองเปิด-ปิดประตูม้วนดูอีกครั้ง
เบรกเกอร์ตัด ลูกค้าลองเช็คเบรกเกอร์ที่ต่อสายไฟเข้ากับบานประตูม้วนดูอีกครั้ง
หรืออีกกรณี ถ่านในลูกกด รีโมทหมด….อาจจะเป็นไปได้

6.ประตูม้วนระบบไฟฟ้า ในโรงงาน ถูกรถโฟล์คลิฟท์ชน

คำตอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหลายๆโรงงาน โดยที่สาเหตุของปัญหานั้นอยู่ที่ตัวผู้ใช้งาน ไม่ได้อยู่ที่ตัวประตูม้วนเลย แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น โดยที่ประตูม้วนถูกรถโฟล์คลิฟท์ชน อาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยการพยายามดันใบประตูม้วนใส่เข้าไปในรางให้ได้ก่อนโดยที่ยังไม่กดใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากจะเป็นการฝืนการทำงานของมอเตอร์ หลังจากที่ทดลองดันใบประตูม้วนให้เข้ารางได้แล้วจึงตามช่างประตูม้วนมาประเมินความเสียหายอีกครั้ง เพื่อ ซ่อมประตูม้วน เฉพาะจุดที่เสียหาย

7.มีสิ่งของขวางประตูม้วนขณะที่กำลังปิดลง

คำตอบ ปัญหานี้ก็เป็นอีกปัญหาที่พบบ่อยมากสำหรับประตูม้วนระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจริงๆแล้วสาเหตุหลักไม่ได้มาจากตัวประตูม้วนแต่เกิดจากการใช้งานของผู้ใช้ประตูม้วน แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจริง ถ้าหากสามารถดันใบประตูม้วนกลับเข้ารางได้ (กรณีใบหลุดราง) ก็สามารถทำได้ทันที และประตูม้วนจะสามารถได้ใช้ปกติ แต่ถ้าใบประตูม้วนไม่ได้หลุดราง เพียงแค่เอียงแต่ยังสามารถใช้งานได้ ก็สามารถใช้งานไปก่อนแล้วจึงให้ช่างประตูม้วนเข้าไปตรวจสอบแก้ไขประตูม้วนให้ตั้งตรงได้ หากต้องการให้ช่างประตูม้วนเข้าประเมินหน้างานเพื่อ ซ่อมประตูม้วน


ภาพตัวอย่าง : รีวิวเปลี่ยนเนื้อใบเฉพาะจุด 


ภาพตัวอย่าง : รีวิวเปลี่ยนเนื้อใบเฉพาะจุด ซ่อมแซมแก้ไข UniQlo



ภาพตัวอย่าง : รีวิว UniQlo พ.ล. ซ่อมแซมแก้ไขใหม่ทั้งหมด



สับตะไคร้

โรงงานผลิต จำหน่าย ประตูม้วน ทุกระบบ ด้วยประสบการณ์ความชำนาญนานกว่า 20 ปี แผ่นหลังคารีดลอน เหล็กรูปพรรณ สแตนเลส วัสดุงานโครงสร้าง และอื่น ๆ

SAC มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพพร้อมช่วยให้ธุรกิจก่อสร้างเดินหน้าอย่างคุ้มทุนที่สุด SAC จะช่วยให้งานของคุณไม่สะดุดเดินหน้าต่อเนื่อง และคงคุณภาพมาตรฐาน

แบ่งปันสิ่งนี้
0Shares
Posted in .

ใส่ความเห็น