ทำความเข้าใจกับเมทัลชีท (Metal Sheet )

 

             หลังคาบ้านมีวัสดุหลายอย่างที่นำมามุงหลังคาให้สวยงามคงทนได้ บ้านแต่ละหลังก็สร้างออกมาจากความต้องการของเจ้าของบ้านโดยจะต้องมีทั้งความสวยงามและความแข็งแรงอยู่ด้วยกัน  สำหรับบทความนี้เราจะพามาทำความเข้าใจกับเมทัลชีท (Matal Sheet )ที่นิยมใช้มาเป็นหลังคาบ้านกัน โดยจะเริ่มรู้จักกันตั้งแต่ว่าเมทัลชีททำมาจากอะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ข้อดี ข้อเสีย และอื่น ๆ บทความนี้จะรวมไว้ให้ทุกท่านได้อ่านอย่างละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับเมทัลชีลเลย

เมทัลชีทเป็นคำที่มีความหมาย 2 คำมารวมกัน ซึ่งคำว่า Metal แปลว่า โลหะ และคำว่า Sheet มีความหมายว่า แผ่น จึงรวมกันง่าย ๆ เลยคือคำว่า เมทัลชีท แปลว่า “แผ่นโลหะ” นั่นเอง แต่ว่าในทางงานเกี่ยวกับการสร้างบ้านการทำหลังคาเราจะรู้จักกันดีในความเป็นแผ่นกรีดรอนที่ทำมาจากโลหะเป็นขนาดบางหน้าที่หลักเพื่อใช้ในการมุงหลังคาบ้าน แต่มันก็มีความหมายอย่างอื่นด้วยหากหน้าที่ของมันต่างออกไปจากการสร้างบ้าน

โดยจะแบ่งออกเป็นการขึ้นรูป 2 ชนิดคือ แผ่นเคลือบสี และ เคลือบอลูซิงค์โดยทั้งสองแบบนี้มีการรีดออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ รีดลอนที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

1.    เมทัลชีทแบบเคลือบสี ตัวนี้ก็ต้องผ่านการเคลือบ Aluzincเหมือนกันก่อนที่จะนำมาทำสีออกมาให้เป็นแผ่นเมทัลชีทที่มีความสวยงามตามขั้นตอนต่อไป การเคลือบสีนั้นมีอยู่ 3 วิธีคือ
1.1.    เคลือบ PZACS เป็นการเคลือบสีแบบที่ไม่มีการรองพื้น
1.2.    เคลือบ PRIMA เป็นการเคลือบแบบมีรองพื้น 1 ชั้น หนาขึ้นมาอีหน่อย
1.3.    เคลือบ CLEAN COLOR BOND โดยมี 2 ชั้นด้วยกันจะหนาที่สุดแล้ว หนาประมาณ 12 – 25 ไมครอนเลย ยิ่งหนายิ่งทำให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น


2.    
เมทัลชีทแบบเคลือบอลูซิงค์ เป็นการนำแผ่นเหล็กมาทำการเคลือบสังกะสี (Zn)จากเคลือบเข้ากับอลูมิเนียมอีกทีเพื่อเป็นการทำให้มันไม่พังง่าย หรือไม่เกิดเป็นสนิม จะมีความเงางามมีกว่าแบบแรก
ทั้งสองอย่างนี้เป็นกระบวนการก่อนที่จะนำเอาแผ่นเหล็กไปทำการรีดเพราะหากไม่เคลือบอะไรเลยก็ทำให้เหล็กนั้นเป็นสนิมและเปราะยางได้ง่ายมาก มันเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับเหล็กเมทัลชีทนั่นเอง

วิธีการเลือกเหล็กเมทัลชีทให้เหมาะสมกับการใช้งาน
–    เหล็กเมทัลชีทหนาที่ 0.30 mm (BMT) เป็นเหล็กที่เหมาะสำหรับการใช้กับการมุงหลักคาที่มีขนาดไม่ใหญ่ เป็นการมุงผนัง ในพื้นที่เล็ก ๆ เน้นการประหยัด เช่น การนำไปมุงหลังคาที่จอดรถ ทำเป็นกันสาด โดยจะต้องมีระยะแปประมาณไม่เกิน 1.2 เมตรเท่านั้น
–    เหล็กเมทัชชีทหนาที่ 0.35 – 0.40 (BMT) ตัวนี้จะเหมาะกับการนำไปใช้ในงานมุงหลังคาอาคารที่เป็นขนาดปานกลาง งานปูผนังแบบทั่วไป ไม่เล็กไม่ใหญ่กำลังพอดี
–    เหล็กเมทัลชีทหนา 0.42 (BMT) ตัวนี้จะเหมาะกับการมุงหลังคาบ้านแบบมาตรฐานเลย งานที่ต้องใช้ความละเอียดเน้นคุณภาพงานสูงมาก บ้านที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ใช้แผ่นมุงหลังคาเมทัลชีทหนาระดับนี้ได้เลย โดยระยะแปจะได้ถึง 1.5 เมตรเลยแต่อยู่ที่ลักษณะรูปของแผ่นหลังคาเมทัลชีทประกอบกันด้วย
–    เหล็กเมทัลชีทหน้า 0.48 (BMT)สำหรับความหนาระดับนี้เน้นที่งานการมุงหลังคาบ้านที่เน้นความแข็งแรงเป็นพิเศษ และต้องมีความกว้างมากด้วยโดยได้ถึง 2.5 เมตรเลย

ข้อดีของการใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคา
–    น้ำหนักแผ่นเมทัลชีทเบา
–    สามารถซื้อได้ในราคาประหยัดเมื่อเทียบกับการใช้กับโครงสร้างหลังคา หากซื้ออยู่ที่โรงรีดจะถูกมากอยู่ที่พันกว่าบาทเท่านั้น แต่ก็ต้องดูความหนาและส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย
–    ทำให้มุงหลังคาบ้านได้รวดเร็วและปลอดภัย
–    ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพผู้ใช้
–    กันฝนได้ดีรอยต่อละเอียดน้ำไม่รั่วซึม
–    มีหลายสีให้เลือก
–    อายุการใช้งานนานถึง 15 ปี
ข้อเสียของการใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคา
–    ราคาแพงมากยิ่งตัวที่มีความหนาและแข็งแรงจะยิ่งแพง
–    กันเสียงฝนตกหนักไม่ค่อยได้หากเทียบกับกระเบื้องคอนกรีต แต่ก็ติดฉนวนกันความร้อนและกันเสียงได้
–    การระบายน้ำขึ้นอยู่กับความเอียงของตัวหลังคาบ้าน
ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งานแต่สำหรับแผ่นเมทัลชีทกับการมุงหลังคาบ้านนี้เมื่อคิดถึงประโยชน์การใช้งานแล้ว อาจจะแพงหน่อยแต่ก็คุ้มค่ามากเมื่อคิดถึงประโยชน์ในระยะยาว

 

     สำหรับใครที่กำลังเลือกใช้กับบ้านของตัวเองก็ให้เข้าไปเลือกซื้อมาให้ถูกประเภทและดูความเหมาะสมของงบประมาณและตัวบ้านประกอบกัน แต่แน่นอนว่าไม่มีผิดหวังคุณจะได้บ้านที่เย็นสบายแน่นอนเมื่อมุงหลังคาด้วยเมทัลชีท

วัสดุที่เกี่ยวข้อง : เหล็กโครงสร้าง , อลูมิเนียมลายไม้ , เมทัลชีท
บริษัท สแทรตทีจี้ แอนด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด แซค SAC ผลิตและจำหน่ายเหล็ก, ประตูม้วน, ใบกันสาด, ใบหลังคา, ใบลอนซี่ ลายอิตาลี, แผ่นโพลีคาร์บอเนต, ซอฟไลท์ โปรไลท์มินิ, บังตาอ่อน-แข็ง, ตาข่าย-ตะแกรง, สแตนเลส, สแตนลอย, อะไหล่ประตู, หลังคาเมทัลชีท

ที่มา : รูปภาพ pinterest

YOUTUBE Chanel: Click

แบ่งปันสิ่งนี้
9Shares
Posted in ไม่มีหมวดหมู่.

ใส่ความเห็น